สัญญาเช่าให้ริบเงินประกันได้ ต้องเป็นไปตามข้อสัญญา |
---|
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2551 โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่มาแห่งคำขอให้จำเลยคืนเงินประกันแก่โจทก์ว่าโจทก์ใช้สิทธิขอเลิกสัญญาตามข้อตกลงในสัญญาเช่า ข้อ 4 อันเป็นการขอเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา มิใช่อาศัยสิทธิขอเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 548 และ 551 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2542 และวันที่ 1 สิงหาคม 2542 โจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาเช่าคลังสินค้ากับจำเลยจำนวน 2 ยูนิต หมายเลข 7/2 และหมายเลข 10/1 เลขที่ 53 หมู่ 8 ถนนพระยาสุเรนทร์ แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร สัญญาเช่าคลังสินค้ายูนิตหมายเลข 7/2 ระยะเวลาการเช่า 3 ปี นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 ค่าเช่าเดือนละ 21,000 บาท ค่ายามและค่าส่วนกลางเดือนละ 14,000 บาท รวมเป็นเงินที่ต้องชำระเดือนละ 35,000 บาท โจทก์ทั้งสองได้วางเงินประกันการเช่า เป็นเงินค่าเช่าล่วงหน้า 2 เดือน เป็นเงินจำนวน 70,000 บาท เงินประกันค่าใช้ไฟฟ้าจำนวน 10,000 บาท เงินประกันค่าใช้โทรศัพท์จำนวน 20,000 บาท รวมเป็นเงินประกันการเช่าจำนวน 100,000 บาท สัญญาเช่าคลังสินค้ายูนิตหมายเลข 10/1 ระยะเวลาการเช่า 3 ปี นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2542 ค่าเช่าเดือนละ 16,800 บาท ค่ายามและค่าส่วนกลางเดือนละ 11,200 บาท รวมเป็นเงินที่ต้องชำระเดือนละ 28,000 บาท โจทก์ทั้งสองได้วางเงินประกันการเช่า เป็นค่าเช่าล่วงหน้า 2 เดือน เป็นเงินจำนวน 56,000 บาท เงินประกันค่าใช้ไฟฟ้าจำนวน 10,000 บาท รวมเป็นเงินประกันการเช่าจำนวน 66,000 บาท รวมเงินประกันการเช่าที่โจทก์ทั้งสองจ่ายให้จำเลยเป็นเงินจำนวน 166,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะเช่าคลังสินค้ากับจำเลยอีกต่อไป จึงได้มีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาเช่าคลังสินค้าไปยังจำเลย มีผลให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ภายหลังสัญญาเช่าสิ้นสุดโจทก์ทั้งสองได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบเงินประกันการเช่าคืนให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยเพิกเฉย คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 166,000 บาท นับแต่วันที่ 31 พฤศจิกายน 2542 ถึงวันฟ้องได้ 10,375 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 176,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 166,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
|
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองทำสัญญาเช่าคลังสินค้าจากจำเลยจำนวน 2 ยูนิต กำหนดเวลาเช่า 3 ปี ยูนิตหมายเลข 7/2 นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 ค่าเช่ารวมค่ายามและค่าส่วนกลางเดือนละ 35,000 บาท และวางเงินประกันค่าเช่ารวมค่ายามและค่าส่วนกลางล่วงหน้า 70,000 บาท เงินประกันค่าใช้ไฟฟ้า 10,000 บาท เงินประกันค่าใช้โทรศัพท์ 10,000 บาท รวมเงินประกัน 100,000 บาท ตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.3 ยูนิตหมายเลข 10/1 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2542 ค่าเช่ารวมค่ายามและค่าส่วนกลาง เดือนละ 28,000 บาท และวางเงินประกันค่าเช่ารวมค่ายามและค่าส่วนกลางล่วงหน้า 56,000 บาท เงินประกันค่าใช้ไฟฟ้า 10,000 บาท รวมเงินประกัน 66,000 บาท ตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.4 ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2542 โจทก์ทั้งสองบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และขอให้จำเลยคืนเงินประกันทั้งหมดจำนวน 166,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยเพิกเฉย |
บทความที่น่าสนใจ |
-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ -การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน -เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร
|